ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ชะมดต้น, ฝ้ายผี
ชะมดต้น, ฝ้ายผี
Abelmoschus moschatus Medik. subsp. moschatus
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Malvaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus moschatus Medik. subsp. moschatus
 
  ชื่อไทย ชะมดต้น, ฝ้ายผี
 
  ชื่อท้องถิ่น -
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ - ไม้ล้มลุก สูง 1-2 ม. มีขนหยาบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ มี 5-7 แฉก เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-15 ซม. แฉกรูปใบหอกถึงรูปสามเหลี่ยม ขอบจักไม่สม่ำเสมอ โคนใบรูปหัวใจ ผิวใบมีขนแข็งประปรายทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 7-15 ซม. มีขนแข็ง หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาว 7-8 มม. ดอก ออกเดี่ยวตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 2-3 ซม. มีขนแข็ง ริ้วประดับ 8-10 แฉก คล้ายเส้นด้ายยาว 10-13 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบติดกัน ยาว 2-3 ซม. ปลายมี 5 แฉก ร่วงง่าย กลีบดอก 5 กลีบ กลางดอกสีม่วงเข้ม เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-12 ซม. เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2.5 ซม. เกลี้ยง เกสรเพศเมียอยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ รูปไข่ ก้านเกสรปลายแยก 5 แฉก ยอดเกสรแบบ ผล แบบผลแห้งแตก รูปรี กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. ปลายแหลม มีขนแข็งสีเหลือง เมื่อแก่แตกตามยาว ภายในมี 5 ช่อง มีเมล็ดมาก เมล็ด รูปไต มีกลิ่นหอม [7]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ มี 5-7 แฉก เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-15 ซม. แฉกรูปใบหอกถึงรูปสามเหลี่ยม ขอบจักไม่สม่ำเสมอ โคนใบรูปหัวใจ ผิวใบมีขนแข็งประปรายทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 7-15 ซม. มีขนแข็ง หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาว 7-8 มม.
 
  ดอก ดอก ออกเดี่ยวตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 2-3 ซม. มีขนแข็ง ริ้วประดับ 8-10 แฉก คล้ายเส้นด้ายยาว 10-13 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบติดกัน ยาว 2-3 ซม. ปลายมี 5 แฉก ร่วงง่าย กลีบดอก 5 กลีบ กลางดอกสีม่วงเข้ม เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-12 ซม. เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 2.5 ซม. เกลี้ยง เกสรเพศเมียอยู่เหนือวงกลีบ อยู่ภายในหลอดเกสรเพศผู้ รูปไข่ ก้านเกสรปลายแยก 5 แฉก ยอดเกสรแบบ
 
  ผล ผล แบบผลแห้งแตก รูปรี กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 5-6 ซม. ปลายแหลม มีขนแข็งสีเหลือง เมื่อแก่แตกตามยาว ภายในมี 5 ช่อง มีเมล็ดมาก เมล็ด รูปไต มีกลิ่นหอม [7]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลแก่ เชื่อว่าไม่ควรเก็บมา เพราะจะทำให้คนๆ นั้นทำ อะไรไม่รู้เนื้อรู้ตัว คล้ายคนสติไม่ดี(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) - ราก มีสารเหนียว ใช้เป็นกาวในการทำกระดาษ ใบ ทาแก้ขี้กลาก เมล็ด ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้เข้ายาใช้ขับลม [7]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง